ขาดกู แล้วมึง จะรู้สึก

โปรแกรม จิต

กร เป็นโปรเจ็กต์เมเนเจอร์ ของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์แห่งหนึ่ง
กร เป็นคนมีฝีมือในการทำงาน ถือได้ว่ามีความเก่งกาจ
ในสายงานของตนเอง เป็นคนขยัน กระตือรือร้น

เวลาเข้างาน
กรไปทำงานตั้งแต่เช้าตรู่ 6 โมงเช้าถึงออฟฟิศก่อนใคร
เพื่อจะได้มีเวลา ทำงาน(เขียนโค้ด) ของตนเอง

พอถึงเวลางาน
ทุกอย่างจะวุ่นวาย ไปหมด
กร ต้องไปทำงานอื่น…
เดี๋ยวแก้ปัญหา ให้คนนั้น รับปัญหาคนนี้
แก้ปัญหาให้ทีม แก้ปัญหาให้ลูกค้า
โดยที่กรสามารถจัดการได้เรียบร้อย ทั้งหมด
ก็หมดวันพอดี

เวลาเลิกงาน
เมื่อถึงเวลาเลิกงาน ทุกคนกลับบ้านกันหมด
กรจึงมีเวลา 3-4 ชั่วโมง ในการทำงานของตนเอง
สามทุ่ม ถึงสี่ทุม กรจะกลับบ้านเป็นคนสุดท้าย
กรทำงานอย่างนี้ มาเกือบปี จนรู้สึกเหนื่อย
คนที่บ้าน เริ่มไม่รู้จักกัน คุยกันน้อยลง
กร…อยากจะลาออก
แต่ถ้าทีมงานขาดเขา จะเป็นอย่างไร?

ฮีโร่
กรเป็นฮีโร่ของทีมมาตลอด จัดการงานทุกอย่างให้ทีม
จนงานเรียบร้อย ไม่เคยมีปัญหา
จนกรกลายเป็นคนสำคัญของทีมไปในที่สุด เขารู้สึกอย่างนั้น
เขารู้สึกว่า ทีมขาดเขาไม่ได้ ถ้าไม่มีเขา
ทีมจะเป็นอย่างไร งานเดินไม่เป็นอย่างแน่นอน

ความจริง
อยู่มาวันหนึ่ง กรไปทานข้าว กับน้องในทีมคนหนึ่ง
คุยถึงเรื่องงาน กรก็บ่น ให้น้องฟังว่า เริ่มรู้สึกเหนื่อย
น้องคนนั้น จึงเล่าความจริง เรื่องหนึ่ง ให้กรฟังว่า…
เคยได้ยินคนในทีมพูดกันว่า…
“ถ้ามันอยาก เหนื่อย ให้มันเหนื่อย ไปคนเดียว”

กรได้ฟังแล้ว เหมือนมีใคร
นำก้อนอิฐมาทบอย่างแรงบนหัวตัวเอง มึน งง อยู่ชั่วขณะ
!??@#$!??…
หลังจากดึงสติกลับมาสู่ตัวตนอีกครั้ง
จากที่กร แค่รู้สึกเหนื่อย กลับกลาย หมดกำลังใจ ทันที
และเกิดความแค้น ขึ้นในใจแทน
ทำเพื่อทีมมาตลอด แต่ได้รับผลจากทีม อย่างนี้…
มันน่าเจ็บใจจริง (ความคิด เล่าให้กรฟัง)

ความคิดของกร มันเล่าให้ฟังกรว่า “พวกมึง ขาดกู แล้วจะรู้สึก”
กรจึงเชื่อในสิ่งที่ความคิดเล่าให้ฟัง
กรจึงตัดสินใจ ลาออกจากบริษัท ในวันรุ่งขึ้น เป็นการแก้แค้น
กรรู้สึกสะใจ อยากรู้น้ำหน้า อย่างพวกมัน จะไปได้กี่น้ำ
ทีมจะเดินอย่างไร เมื่อขาดเขา
“คลานเหมือนเต่า แน่ พวกมึง” ความคิดกร บอกอย่างนั้น
กรกรู้สึกสะใจ ในสิ่งที่มันบอก

เหลือเชื่อ
หลังจากที่กร ได้ลาออกจากทีมไป ไม่นาน
ปรากฏการณ์ ไม่คาดคิด ก็เกิดขึ้น
ทุกคนในทีม ยังคงทำงาน ต่อได้อย่างไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น
จากเมื่อก่อน ค่อยรับงานจากกรคนเดียว
ตอนนี้งานไม่ไปตก อยู่ที่ใครคนใด คนหนึ่ง
งานกลับเสร็จเร็วขึ้นเท่าตัว ทุกคนเรียนรู้เร็วขึ้น
ทุกคนมีความสุขมากขึ้น ไม่มีใครเป็นฮีโร่
พวกเขาทำงาน เหมือทั้งทีมคือฮีโร่

ตัวถ่วง
เมื่อกรย้อนมองดู จากภายนอกเข้าไป
“สัสสส… กูเอง ตัวถ่วง”
กรรู้สึกว่า…

View original post 63 more words

Video

แนวทางที่น่าเอาไปใช้ในการเทรนพนักงานใหม่

ถึงแม้ว่าเราจะไม่กี๊กก็ตามนะ
แต่ว่าแนวทางนี้ก็น่าเอาไปใช้สอนพนักงานใหม่

1. รู้จัก SDLC (ที่เราจะใช้)
2. ทำงานกับ Editor (ที่เราจะใช้)
3. เรียนรู้ Git
4. การจัดการโครงสร้างของไฟล์และการ Deploy

แต่ทั้งหมดนี้เราจำเป็นจะต้องนิยาม
1. SDLC ที่เราต้องการ
2. Editor ที่เราจะใช้ และวิธีการใช้งานมันอย่างคุ้มค่า
3. Infrastructure ที่เราต้องการ

ข้อคิดในการคุมโครงงานนิสิต Senior Project แบบบ้านๆ

Ref: https://www.facebook.com/notes/putchong-uthayopas/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95-senior-project-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%86/10151912423106083

ที่จริงแล้วการคุม Senior Project เด็กให้ได้ดี ในความรู้สึกผม นับเป็นศาสตร์เร้นลับอย่างหนึ่ง พักนี้เริ่มคุยกับเด็ก Senior Project บ่อยขึ้น ผมเลยอยากเขียนความในใจมาแบ่งปันกันนะครับ 

เรื่องแรก  ผมพบว่าบางที  เด็กจะจดจดจ้องๆ ขาดความมั่นใจ หลายคนอาจจะเคยแต่เรียนและสอบ เด็กจะรู้สึกว่ารู้ไม่พอ ไม่ยอมลงมือ กลัวผิดกลัวพลาด กลัวทำไม่ถูกใจ เกรดจะไม่ดี ผมก็จะปลอบใจไปว่า การทำงานมันเหมือนการหัดว่ายน้ำซึ่งไม่สามารถอ่านหนังสือว่ายน้ำจนแตกฉาน แล้วคิดว่าโดดไปจะเทพเลย  ให้ศึกษาพอไม่จมแล้วโดดตูมไปเลย  พอว่ายป๋อมแป๋ม ก็กลับมาคิดว่าจะว่ายให้ดีขึ้นอย่างไร  โปรเจคนั้น พอคุยกันได้เลาๆ ก็ต้อง code เลย อย่าอ่านไปเรื่อยๆ เพราะเรื่องบางเรื่องถ้าไม่เจ็บตัวมา ไม่จมน้ำมา ตกจักรยานมาแอ๊ก อกหักมา อ่านไปก็ไม่เข้าใจหรอก  ต้องลุยๆ คิดว่ารีบผิดแต่เนิ่นๆ จะได้แก้ทัน ให้อออกแบบมาเร็วๆ พอเริ่มทำ ไอเดียมันจะมาเอง คือ ผมชอบการพัฒนาแบบ Rapid prototyping  + co-creation  ให้ทำไปแก้ไป ใช้ Agile Development เป็นแกนครับ

เรื่องที่สอง เด็กยังขาด communication skill อยู่มาก ไม่เข้าใจการทำงานกับ supervisor ไม่สามารถ commmunicate design เป็น ทุกคนเรียน software engineering พื้นฐานมา แต่ไม่ยักใช้แฮะ ผมเองต้องมาสอนการใช้ diagram ไล่ไปเขียน UML เด็กวิศวะคอม มักมีปัญหาว่าเคยแต่เขียนการบ้านเล็กๆ ไม่เคยวางระบบขนาดใหญ่มาหน่อย เลยไม่เข้าใจว่า   โปรเจคน่ะ ไม่ใช่จะนั่งหน้าจอแล้วเขียนๆๆๆๆ ได้จ้า  คุณต้องเข้าใจ requirement ของ system ต้องออกแบบ architectural design ต้อง  วาง module ในการ code สร้าง testing buildin ขอดู data format design, database design ไม่มี โปรโตคอลระหว่าง component และ interaction ยังไม่มี ไม่มีไม่มี เฮ้ย ต้องสอนกันใหม่หมดทุกปีทุกปี ก็หน้าที่เราแหละครับ ที่จะสอนนิสิตให้เข้าใจ

เรื่องที่สำคัญในสายตาผม  การคุมโปรเจคไม่ได้เป็นการสอนเทคโนโลยี แต่การคุมโปรเจค คือ สอนให้เด็กทำงานเป็นซึ่งจะใช้ได้ชั่วชีวิต   ผมเลยไม่ค่อยเน้นการสอนเทคโนโลยีเป็นหลัก นักเรียนผมจะลำบากหน่อยเพราะ ผมถือว่านักเรียนเก่ง และผมคาดหวังสูงกับนักเรียน บทสนทนาระหว่างผมกับนักเรียนเลยเป็นประเภท

อ้าว วันนี้คิดอะไรมา ไม่มีเหรอ งั้นกลับไปคิดตรงนี้นะ…..( อาจารย์ บ้า ไม่บอกไรตูเลย) 

อ้าว เรื่องนี้ผมไม่รู้เรื่องหรอก ลองไปอ่าน นี่นี่นี่ มา แล้วมาสอนผมที (เฮ้ย อาจารย์ต้องสอนตูไม่ใข่เหรอ ทำไมต้องสอนอาจารย์) 

อ้าว เรื่องนี้ไปถามพี่เขาไป เขาเก่งที่สุดในแลป (อ้าว แล้ว ตกลงใครเป็นที่ปรึกษากันแน่) 

ผมแอบพยายามสอนเด็กว่า งานของเขาเขาต้องผลักดันเอง ในชีวิตถ้าจะก้าวหน้าไม่มีใครน่ารักมาช่วยตามคุณหรอก ทำไม่ได้เขาก็หาคนเก่งกว่ามาทำ ต้อง Proactive นะ  เขาต้องเชื่อมั่นว่าทางเทคนิคเขาเก่งได้และเก่งกว่าอาจารย์ และเขาต้องคิดสิ่งใหม่ๆ ได้ ผมจะบอกว่าไปคิดมา ผิดถูกไม่ว่า แต่ความคิดทุกอันผมขอ justification อย่าบอกว่า พี่บอกมา เพื่อนบอกมา เขาคิดกันอย่างนี้ ให้ถามว่า ทำไม ข้อดีคืออะไร ข้อเสียคือ อะไร ทำไมถึงเลือกทำอย่างนี้ ผมถามต้องตอบได้ 

แล้วเรามาสุมหัวกันผมจะช่วย review ให้ บอกทิศให้ แนะให้  

ไม่มีไอเดียคุณ ก็ไม่มีความคิดผม ผิดถูกไปคิดมา โยนลงมากลางวง แล้วผมกับรุ่นพี่จะช่วยคุณคิด แต่คุณต้องเป็นหลัก

อีกอย่างความที่อยากได้เกรด เด็กเก่งเก่งจะพยายามเดาใจอาจารย์เหมือนเก็งข้อสอบ อยากทำให้ถูก ไม่กล้าเสี่ยง กลัวพลาด 

อันนี้เป้นนิสัยที่ต้องขจัดออกให้  ต้องสอนให้เด็กเขากล้าผิด กล้าพลาด กล้าลุยไปข้างหน้า แต่ยากเหมือนกันมันฝังแน่นมากมาก

เด็กจะกลัวโครงงานที่เขาไม่เข้าใจหมดตั้งแต่ต้นจนปลาย  กลัวความไม่แน่นอน กลัวไม่จบ 

อยากได้โครงงานที่เขามองปุ๊บมองออกแล้วพัฒนาได้เลย   ผมเคยบอกเด็กไปว่า โครงงานที่เด็กปีสี่อย่างคุณมองทะลุหมดแสดงว่ามันง่ายๆ กระจอก อย่าทำ เพราะคุณก็ได้แค่ coding skill ไม่คุ้มหรอก

โครงงานที่อาจารย์มองให้มันลึกกว่า เพราะมันจะเกินความสามารถคุณตอนนี้ คุณกับอาจารย์ต้องทำงานร่วมกัน ให้คุณเก่งมากๆ

จนทำมันได้สำเร็จ  เปรียบเหมือน อาจารย์พาคุณเข้าป่า เป็น Navigator อย่ากลัว เจอเสือสิงค์ก็ไล่มันไป หน้าที่อาจารย์ คือ

คุมไม่ให้คุณหลงป่า  

อันงานวิจัยพัฒนาที่มี Research  element นั้นมันเป็น unknown territory แดนเร้นลับ ถ้านักเรียนกลัว เขาจะทำงานท้าทายไม่ได้ ต้องจับปล่อยป่าแล้วสอนให้ survive สอนให้เก่งเป็นเจ้าป่าให้ได้

ขอย้ำว่าโครงงานปีสี่สักกี่เรื่องที่ไปใช้จริง น้อยครับ แต่เรากำลังสร้างคนคุณภาพให้อุตสาหกรรมไอที ของประเทศ คนที่กล้าท้าทายแข่งขันได้กับคนทั้งโลก ผมว่าทำได้ครับ

น้องๆ วอลเล่ย์บอล เป็นตัวอย่าง มาแล้ว ตบจีนเด้ง ญี่ปุ่นร้องไห้ (แต่น่ารักฮิ) มาแล้ว  ต้องสร้างคนที่ทำงานเป็น ทำงานกับ supervisor เป็น ทำงานเป็นทีมได้ กล้าเผชิญความท้าทายใหม่ๆ ได้ มีความสามารถในการ เรียนรู้อะไรยากๆได้เอง คิดเอง ทำเอง นำเอง 

นี่ละครับทำไมวิชาโครงงานต้องมีรหัส 499  เป็นวิชาสุดท้ายของการจบปริญญาตรี  ขอให้ตั้งใจทุกคนครับ 

ภุชงค์ อุทโยภาศ 

ปล. หลังจากบทความนี้ออกไปจะหาเด็กทำโครงงานได้หรือเปล่าในปีหน้าก็ไม่รู้ แต่ผมอยากรับเด็กปีสามเข้าแลปนะครับ ใครสนใจการผจญภัย รับรองสนุกครับ 

เป็นเรื่องบังเอิญพอดีที่ตอนเช้า ตอนที่กำลังเดินจากลานจอดรถไปกินข้าว
คิดถึงเรื่องความยากลำบากในการทำ Software Studio ของ BSD 
เรากำลังคิดว่าอาจารย์ไม่ค่อยให้คำแนะนำอะไรเราเลย ตัวอย่างก็ไม่มี แต่ในระหว่างที่เดินไปนั้น สติปัญญาก็พลันบังเกิด

เรากำลังเรียน Master degree ด้วยอายุอานามขนาดนี้ การที่จะทำอะไรสักอย่าง
มันต้องขึ้นอยู่กับตัวของเราแล้ว ว่าจะทำมันออกมาอย่างไร ให้มันดี
ถ้ายังต้องให้อาจารย์คอยบอก คอยสอน อย่างนั้นก็ไม่น่าจะใช้การเรียนในระดับนี้แล้ว

เมื่อคิดได้ดังนั้น เราจึงเลยคิดน้อยใจอาจารย์ไปและมุ่งหน้าไปกินข้าวเช้าทันควัน

ตอนสายๆก็ได้มาอ่านบทความนี้อีก เยี่ยมเลย